เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 6

เห็นว่า ‘เราเป็นนี้’ แต่ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยก็ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นอยู่’ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะสภาวะที่
ถอนอัสมิมานะ1 นี้เป็นธาตุที่สลัดลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย

18
[327] อนุตตริยะ2 6

1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันยอดเยี่ยม)
2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันยอดเยี่ยม)
3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันยอดเยี่ยม)
4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันยอดเยี่ยม)
5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำรุงอันยอดเยี่ยม)
6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันยอดเยี่ยม)

19
อนุสสติฏฐาน3 6

1. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
2. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)
3. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
4. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
5. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
6. เทวตานุสสติ (การระลึกถึงเทวดา)

เชิงอรรถ :
1 สภาวะที่ถอนอัสมิมานะ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมรรค ที่เรียกว่าสภาวะที่ถอนอัสมิมานะ เพราะเมื่อเห็นนิพพาน
ด้วยอำนาจผลที่เกิดจากอรหัตตมรรค อัสมิมานะจึงไม่มี (ที.ปา.อ. 326/235, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/13/105)
2 ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/8/419-420
3 อนุสสติฏฐาน แปลว่า “ฐานคืออนุสสติ” หมายถึงเหตุคืออนุสสติ ได้แก่ ฌาน 3(ที.ปา.อ. 327/235,
องฺ. ฉกฺก.อ. 3/25/110,29/112)
อนุสสติ ที่เรียกว่า “ฐาน” เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูลและความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่ ปีติ (ความอิ่มใจ)
ย่อมเกิด จากนั้น จึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล
อนุสสติฏฐาน นี้จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.อป.อ.1/25/137,
องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/9/108) และดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/9/420-421

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :328 }